การจับกุมในครั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2563 เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม กกก.3 บก.ป. ได้จับกุมตัว ซ้อบี ส่งพนักงานสอบสวน สน.อุดมสุข เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายไปแล้ว แต่ซ้อบีได้ขอประกันตัวในชั้นสอบสวน โดยพฤติการณ์การกระทำผิดในครั้งนั้น ซ้อบี ได้ตั้งกลุ่มแชร์ชื่อ “ซ้อบี” ชักชวนผู้เสียหายให้มาร่วมลงทุน อ้างว่าจะได้รับผลกำไรตอบแทนสูง รวมถึงหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะพาไปทำงานต่างประเทศ และหลอกลวงผู้เสียหายทางออนไลน์ ให้มาลงทุนส่งออกหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ไปขายที่ต่างประเทศ
เมื่อซ้อบี ได้รับประกันตัวออกมาก็ยังคงมีพฤติการณ์หลอกลวงบุคคลอื่น โดยใช้ช่องทางgclubออนไลน์ต่างๆ จนมีผู้เสียหายจำนวนมาก รวมตัวเข้าแจ้งความ จนนำมาสู่การจับกุมซ้อบีอีกครั้งหนึ่ง
ซ้อบีคนนี้เป็นใคร? ทำไมถึงโกงไม่เลิก โกงแล้วโกงอีก โกงแล้วก็ถูกจับอีกเป็นครั้งที่ 2
แหล่งข่าวตำรวจเล่าให้ฟังว่า ซ้อบี หรือ นางสาวสุพิชญา อายุ 24 ปี เธอมีพื้นเพเป็นคนจังหวัดอุดรธานี
จากประวัติของซ้อบี พบว่า เธอออกจากบ้านตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ม.5 หรือราวๆ อายุ 17 ปี เธอออกจากบ้านมากลางคันเพราะทะเลาะกับครอบครัว ทำให้การศึกษาของเธอก็หยุดชะงักอยู่ที่เพียงชั้น ม.5
ซ้อบี ก้าวเข้าสู่วงจรผิดกฎหมาย ด้วยการทำหวยออนไลน์ จีคลับ บาคาร่าออนไลน์ทั้งรับเป็นเจ้า ทั้งเป็นคนเล่น เมื่อตอนอายุประมาณ 18-19 ปี
จากนั้นซ้อบีก็เริ่มเข้าสู่วงการแชร์ออนไลน์ ตั้งตัวเป็นท้าว และเริ่มเรียนรู้วิธีเล่นแชร์ลูกโซ่ โดยหลอกเหยื่อให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจกำมะลอ เช่น ลงทุนน้ำมัน ลงทุนทองคำ การเล่นแชร์ในลักษณะนี้จูงใจเหยื่อด้วยผลตอบแทนที่รวดเร็ว จากนั้นก็มีเหยื่อเพิ่มเข้ามามากขึ้น จนขยายวงแชร์ไปในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน หลายสิบวงแชร์
ขึ้นชื่อว่าแชร์ออนไลน์ เราต่างรู้ดีอยู่แล้วว่า ไม่ยั่งยืน และถูกโกงได้ง่าย สุดท้ายซ้อบี ก็โกงลูกแชร์ จนผู้เสียหายต้องรวมตัวแจ้งความ
กลุ่มแชร์ของซ้อบี มีสมาชิกหลักร้อย และแบ่งเป็นวงย่อยๆ อีกหลายสิบกลุ่ม ซึ่งจะแบ่งตามจำนวนเงินลงทุน ระยะแรกลูกแชร์ที่เปียก็ได้รับเงินตรงตามจำนวนทำให้มีผู้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนจำนวนมาก ต่อมาไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้ทัน จึงไม่ตอบไลน์ ไม่รับโทรศัพท์ ผู้เสียหายจึงเข้าแจ้งความที่ สน.อุดมสุข จากนั้น ซ้อบี ก็ถูกตำรวจกองปราบ จับกุมตัวได้ ก่อนนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.อุดมสุข ดำเนินคดี ก่อนประกันตัวออกมา
เมื่อได้รับการประกันตัว ซ้อบีก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เธอยังคงเดินในวังวนการโกง ครั้งนี้ซ้อบี ได้ให้บุคคลอื่นมาตั้งวงแชร์ เป็นท้าว และทำธุรกรรมต่างๆ แทนซ้อบี และท้าวของวงแชร์ก็จะส่งเงินของลูกแชร์มาให้กับซ้อบี ซึ่งพบว่ามีผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวนอีกเป็นจำนวนหลายราย
ความเสียหายจากวงแชร์ คาดว่ามีมูลค่าสูงถึงหลักร้อยล้าน และหนึ่งในผู้เสียหายเป็นดอกเตอร์ สูญเงินไปถึง 50 ล้านบาท
ตรวจสอบประวัติ ซ้อบี ก็เจออีกว่า ซ้อบีมีหมายจับจากศาลจังหวัดอุบลราชธานี ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”
Commentaires